วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

งานส่งเสริมการรู้หนังสือ


๑. ชื่องาน / โครงการ           งานส่งเสริมการรู้หนังสือและป้องกันการลืมหนังสือ
๒. ความสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน
                ๒.๑ สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ ๒๕๕๗
                นโยบายเร่งด่วน
                ๑. ส่งเสริมการอ่านและเพิ่มอัตราการรู้หนังสือของคนไทยให้สามารถอ่านออกเขียนได้
                                ๑.๑ ) เร่งพัฒนาเครื่องมือสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือไทย และดำเนินการสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือของประชากรวัยแรงงานผู้ไม่รู้หนังสือในทุกพื้นที่โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายอายุ ๑๕-๕๙ ปี  เพื่อนำมาจัดทำฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง และเป็นระบบเดียวกันพร้อมทั้งให้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประชากรให้รู้หนังสือไทยเป็นรายไตรมาส
                                ๑.๒) เร่งจัดการศึกษาให้ผู้ไม่รู้หนังสือตามผลการสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือไทยให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทยของสำนักงาน กศน. และสื่อที่เหมาะสมกับสภาพและพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย
                                ๑.๔) มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือการพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน
                ๒.๒ สอดคล้องกับมาตรฐานประกันคุณภาพภายในของ กศน.อำเภอ
                มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียนและผู้รับบริการ
                                ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                                ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔ ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
                ๒.๓ สอดคล้องกับมาตรฐานประกันคุณภาพภายนอกของ กศน.
                                ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ผู้เรียน คิดเป็น / ทำเป็น
                                                ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม
๓. หลักการและเหตุผล
                การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ มีลักษณะที่สำคัญกล่าวคือ  ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและการตัดสินใจของผู้ใหญ่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพพื้นฐานของผู้ใหญ่แต่ละคน การจัดกระบวนการเรียนรู้ในทุกกิจกรรมของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ สภาพธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการเรียนรู้ที่แตกต่างจากกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน ซึ่งต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคิด จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรมของผู้ใหญ่ ที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสนใจและมีลักษณะการเรียนรู้เฉพาะของตน การส่งเสริมการรู้หนังสือซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่แสดงให้เห็นว่า อัตราการรู้หนังสือยังเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยยังมีผู้ไม่รู้หนังสือกระจายอยู่ทั่วไปในทุกกลุ่มคน ทุกกลุ่มอายุและทุกภูมิภาค ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจโดยตรงของสถานศึกษาในสังกัดของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะต้องมีการสำรวจจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือในพื้นที่ให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและดำเนินการจัดให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้เรียนรู้จากหลักสูตรและสื่อที่เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้โดยร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามแผนปฏิบัติราชการ   4  ปี อีกทั้งจากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ สมศ.มีข้อเสนอแนะให้สถานศึกษาพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายให้เพียงพอ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการ ดังนั้นเพื่อให้การส่งเสริมการรู้หนังสือสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องที่เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสวนผึ้ง 
๔.วัตถุประสงค์
๑.       เพื่อให้สถานศึกษามีข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือในพื้นที่อำเภอสวนผึ้งได้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน  
๒.     เพื่อจัดทำ/พัฒนาหลักสูตร/สื่อการเรียนการสอนสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ
๓.     เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ สามารถอ่านออก เขียนได้ตามหลักสูตรที่กำหนด
๕.เป้าหมาย  
                ๕.๑ เชิงปริมาณ
              ๑.  จัดกิจกรรมปรับปรุงฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ  จำนวน    ครั้ง 
.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรผู้ไม่รู้หนังสือ  จำนวน  ๗๐  คน
๓.  จัดทำ/พัฒนาหลักสูตร  จำนวน  ๑ หลักสูตร
              ๔.  จัดทำ/พัฒนาแผนการเรียนรู้  จำนวน ๑ แผน
              ๕.  จัดทำ/พัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้อย่างน้อยครู ๑ คนต่อสื่อ ๑ ชิ้น
              ๖.  ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า 22 คน
   ๕.๒ เชิงคุณภาพ
๑.  ผู้เรียนทุกคนที่สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรผู้ไม่รู้หนังสือตามแผนที่กำหนด
.  สถานศึกษามีการจัดทำฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ
๓.  สถานศึกษามีการจัดทำ/พัฒนาหลักสูตร
              ๔.  สถานศึกษามีการจัดทำ/พัฒนาแผนการเรียนรู้
              ๕.  สถานศึกษามีการจัดทำ/พัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้
              ๖.  ร้อยละ ๗๕ ของผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับดีขึ้นไป
              ๗.  ร้อยละ ๒๐ ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร

๖. วิธีดำเนินการ

กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
P ประชุมชี้แจงและแต่งตั้งคณะดำเนินงานฯ
เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
 คน
กศน.อำเภอสวนผึ้งและพื้นที่เป้าหมายในการจัดกิจกรรม
ต.ค.๕๖
-


กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
D จัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนด
เพื่อดำเนินการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ผู้ไม่รู้หนังสือ
๗๐ คน
พื้นที่เป้าหมายตามแผนที่กำหนด
ต.ค.๕๖ –ก.ย. ๕๗
-
C ประเมินผลการร่วมกิจกรรมของบุคลากร
เพื่อประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม
ผู้ไม่รู้หนังสือ
๗๐ คน
พื้นที่เป้าหมายตามแผนที่กำหนด
ต.ค.๕๖ –ก.ย. ๕๗
-
A สรุปรายงานผลและนำไปปรับปรุงการจัดกิจกรรม
เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
  คน
กศน.อำเภอสวนผึ้ง
ต.ค.๕๖ –ก.ย. ๕๗
-

๗. งบประมาณ
งบประมาณตามแผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา   ผลผลิตที่ 4 ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ  งบดำเนินงาน  จำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐.- บาท

๘. แผนการใช้เงินงบประมาณ

กิจกรรมหลัก
ไตรมาส ๑
ไตรมาส ๒
ไตรมาส ๓
ไตรมาส ๔
P ประชุมชี้แจงและแต่งตั้งคณะดำเนินงานและจัดทำแผน
-
-
-
-
D จัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนด
-
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
C ประเมินผลการร่วมกิจกรรมของบุคลากร
-
-
-
-
A สรุปรายงานผลและนำไปปรับปรุงการจัดกิจกรรม
-
-
-
-

๙. ผู้รับผิดชอบโครงการ

.งานส่งเสริมการรู้หนังสือและป้องกันการลืมหนังสือ
o. เครือข่าย/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               o.๑ กศน.ตำบล            
๑๑. โครงการที่เกี่ยวข้อง
                ทุกโครงการตามแผนปฏิบัติการ
๑๒. ผลลัพธ์
๑.  ผู้เรียนทุกคนที่สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรผู้ไม่รู้หนังสือตามแผนที่กำหนด
.  สถานศึกษามีการจัดทำฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ
๓.  สถานศึกษามีการจัดทำ/พัฒนาหลักสูตร
              ๔.  สถานศึกษามีการจัดทำ/พัฒนาแผนการเรียนรู้
              ๕.  สถานศึกษามีการจัดทำ/พัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้
              ๖.  ร้อยละ ๗๕ ของผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับดีขึ้นไป
              ๗.  ร้อยละ ๒๐ ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร
๑๓. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
                ๑๓.๑ ตัวชี้วัดผลผลิต : ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับดีขึ้นไป
                ๑๓.๒ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ : ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตามหลักสูตร
๑๔. การประเมินผลโครงการ
                ๑๔.๑ แบบประเมินความพึงพอใจผู้เรียน
   ๑๔.๒ แบบรายงานผลการดำเนินการจัดกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น